ทางเพลง

เพลงไทยสามารถแบ่งเป็นทางเพลงได้สี่ประเภท ดังนี้

1. เพลงทางพื้น คือเพลงที่มีทำนองเต็ม มักเป็นเพลงที่มีการบรรเลงแบบเก็บเป็นหลัก คือ เสียงโน้ตสั้น ไม่ลากยาว

2. เพลงทางกรอ คือเพลงที่ดำเนินทำนองช้าและห่าง เสียงดนตรีจะมีความต่อเนื่อง หากเป็นระนาด หรือฆ้องจะเล่นแบบกรอเพื่อยืดเสียงตัวโน้ตให้ยาวออกไป ได้แก่ เพลงเขมรไทรโยค เพลงแสนคำนึง เป็นต้น

3. เพลงลูกล้อ-ลูกขัด คือเพลงที่แบ่งการเล่นออกเป็น ๒ กลุ่มคือ

- กลุ่มนำ ได้แก่เครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง เช่น ซอด้วง ระนาดเอก
- กลุ่มตาม ได้แก่เครื่องดนตรีเสียงต่ำ เช่น ซออู้ ระนาดทุ้ม
โดยบรรเลงในลีลาต่างๆ คล้ายกับการหยอกล้อกันของเครื่องดนตรี ดังนี้
- ลูกล้อ กลุ่มนำจะบรรเลงไปก่อน เมื่อจบห้องแล้วกลุ่มตามก็จะบรรเลงล้อเลียนในทำนองเช่นเดิม
- ลูกต่อ กลุ่มนำจะบรรเลงเพลงประโยคแรกก่อน จากนั้นกลุ่มตามก็จะบรรเลงประโยคที่เหลือต่อซึ่งไม่เหมือนกัน
- ลูกเหลื่อม (ล้วง) ขณะที่กลุ่มนำบรรเลงไปได้เพียงส่วนหนึ่งของท่อนเพลง กลุ่มตามก็จะเริ่มบรรเลงท่อนเดียวกันนี้ตามมา จึงทำให้ประโยคเพลงท่อนดังกล่าวมีความเหลื่อมกัน

4. เพลงเดี่ยว บรรเลงโดยเครื่องดนตรีเพียงเครื่องเดียว โดยมีเครื่องเคาะจังหวะบรรเลงประกอบด้วย ปกติเพลงที่ใช้บรรเลงเดี่ยวจะเป็นเพลงขับร้องและบรรเลงหมู่ทั่วไป แต่จะมีลูกเล่นกลเม็ดในการบรรเลงแพรวพราวมากยิ่งขึ้นไปกว่าตอนบรรเลงหมู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความสามารถ ความแม่นยำในการจดจำลูกเล่น และความช่ำชองในการใช้เครื่องดนตรีของผู้เล่น

 

กลับไปหน้าหลัก
Free Web Hosting