การบรรเลงดนตรีไทย

 

การบรรเลงดนตรีไทยที่ดีมีหลักการดังต่อไปนี้

๑. ผู้บรรเลงต้องจำทำนองเนื้อเพลงได้อย่างแม่นยำ
๒. รู้วิธีบรรเลงและหน้าที่ของเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง
๓. มีความสามารถในการแต่งทำนองให้เกิดความไพเราะ ผู้บรรเลงจะต้องแต่งทำนองให้ดำเนินไปตามการบรรเลงเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก ต้องตีให้ถี่ และตีเป็นคู่ ๘ พร้อมกันทั้งสองมือ และต้องไม่ให้ผิดไปจากเนื้อเพลงของเพลงนั้นด้วย

การบรรเลงดนตรีประกอบในงานต่างๆ ควรยึดถือแบบแผนที่สมัยโบราณได้เคยใช้กันมาจนเป็นประเพณี คือ
- งานที่มีพระสงฆ์สวดมนต์และฉันอาหาร ควรใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่หรือไม่นั้น ก็ให้ดูตามความเหมาะสม
- งานมงคลสมรส ควรใช้วงมโหรีหรือวงเครื่องสาย
- งานศพ ถ้าจะใช้ดนตรีไทย ควรใช้วงปี่พาทย์นางหงส์
- งานพิเศษที่จัดขึ้นเฉพาะครั้งคราว เช่น รับแขกผู้มีเกียรติ ชุมนุมเพื่อกิจการหรือสมาคมอาจใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมหรือมโหรี หรือเครื่องสาย ก็ได้ทั้งนั้นแล้วแต่ความต้องการของเจ้าของงาน

 

กลับไปหน้าหลัก
Free Web Hosting