![]() |
![]() |
![]() |
เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าลมเข้าไปในสิ่งนั้นแล้วเกิดเสียงดังขึ้นได้แก่ขลุ่ยชนิดต่างๆปี่ชนิดต่างๆและแคนเป็นต้น ขลุ่ย ทำด้วยไม้ไผ่ปล้องยาวไว้ข้อทางปลายแต่เจาะทะลุข้อ ย่างไฟให้แห้งแล้วตบแต่งผิวให้ ไหม้เกรียมเป็นลวดลายสวยงาม ด้านหน้าเจาะรูกลมๆเรียงแถวกันเจ็ดรู สำหรับนิ้วปิดเปิดเสียง - ขลุ่ยไม่มีลิ้นเหมือนปี่ แต่เขาใช้ไม้อุดเต็มปล้อง แล้วปาดด้านล่างให้มีช่อง ไม้อุดนี้เรียกว่า ดาก ทำด้วยไม้สักเพราะ ไม่มีขุยมาบังลม - ด้านหลังใต้ดากลงมา เจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปาดตอนล่างเป็นทางเฉียงไม่เจาะ ทะลุตรงเหมือนรูด้านหน้า รูที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ เรียกว่า รูปากนกแก้ว - ใต้รูปากนกแก้วลงมาจะเจาะรูอีกรู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เพราะเวลาเป่า ผู้เป่าจะใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ - เหนือรูนิ้วค้ำด้านหลัง และเหนือรูบนของรูด้านหน้าทั้งเจ็ดรูแต่อยู่ทางด้านขวา จะเจาะรูอีกรูหนึ่งเรียกว่า รูเยื่อ เพราะแต่ก่อนจะใช้เยื่อไม้ไผ่ปิดรูนี้ ต่อมาไม่ค่อยได้ใช้ - ตรงปลายเลาขลุ่ยจะเจาะรูทั้งซ้ายและขวาให้ตรงกันเพื่อร้อยเชือก เรียกว่า รูร้อยเชือก ดังนั้น จะสังเกตว่า ขลุ่ยหนึ่งเลา จะมีรูทั้งสิ้น ๑๔ รู ขลุ่ยมีทั้งหมด ๓ ชนิดคือ ๑. ขลุ่ยหลีบ มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๓๖ ซม. กว้างประมาณ ๒ ซม. ๒. ขลุ่ยเพียงออ มีขนาดกลาง ยาวประมาณ ๔๕ – ๔๖ ซม. กว้างประมาณ ๔ ซม. ๓. ขลุ่ยอู้ มีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๖๐ ซม. กว้างประมาณ ๔ – ๕ ซม. ต่อมามีผู้สร้างขลุ่ยกรวดขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออหนึ่งเสียง ขลุ่ยกรวดใช้กับวงเครื่องสายผสมที่นำเอาเครื่องดนตรีฝรั่งมาเล่นร่วมวง |
![]() |
![]() |
ขลุ่ยหลีบ | ขลุ่ยอู้ |
ปี่ เป็นเครื่องดนตรีไทยอย่างแท้จริง ทำด้วยไม้ เช่นไม้ชิงชันหรือไม้พยุง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็กส่วนทาง ปลายของปี่ ปากรูใหญ่ใช้ชันหรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกราวข้างละ ครึ่งซม ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียกทวนล่าง ตอนกลางของปี่ เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน ๖ รู - รูตอนบนเจาะเรียงลงมา ๔ รู เว้นระยะห่างเล็กน้อย - เจาะรูล่างอีก ๒ รู ตรงกลางของเลาปี่ กลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ไว้จำนวน ๑๔ คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่นอีกด้วย - ตรงทวนบนนั้นใส่ลิ้นปี่ที่ทำด้วยใบตาลซ้อนกันสี่ชั้น ตัดให้กลมแล้วนำไปผูกติดกับท่อลมเล็กๆที่เรียกว่า กำพวด กำพวดนี้ทำด้วยทองเหลือง เงิน นาก หรือโลหะอย่างอื่น วิธีผูกเชือกเพื่อ ให้ใบตาลติดกับกำพวดนั้น ใช้วิธีผูกที่เรียกว่า ผูกตะกรุดเบ็ด ส่วนของกำพวดที่จะต้องสอดเข้าไปเลาปี่นั้นเขาใช้ถักหรือเคียนด้วยเส้นด้าย และสอดเข้าไปในเลาปี่ให้พอมิดที่พันด้ายให้เกิดความ แน่นกระชับยิ่งขึ้น ปี่ของไทยจัดได้เป็น ๓ ชนิดดังนี้ ๑. ปี่นอก มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๓๑ ซม. กว้าง ๓.๕ ซม. เป็นปี่ที่ใช้กันมาแต่เดิม ๒. ปี่กลาง มีขนาดกลาง ยาวประมาณ ๓๗ ซม. กว้างประมาณ ๔ ซม. สำหรับเล่นประกอบการแสดงหนังใหญ่ มีสำเนียงเสียงอยู่ระหว่าง ปี่นอก กับปี่ใน ๓. ปี่ใน มีขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ ๔๑ – ๔๒ ซม. กว้างประมาณ ๔.๕ ซม. เป็นปี่ที่พระอภัยมณีใช้สำหรับเป่าให้นางผีเสื้อสมุทรขาดใจตายนั่นเอง |
|
ปี่ไฉน เป็นปี่สองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียงยาว ปลายผายออกเล็กน้อยเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่างปลายบานเรียกว่า ลำโพง ทำด้วยไม้หรืองา เข้าใจว่าปี่ชนิดนี้ได้แบบอย่างมาจาก เครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้ ไทยใช้ปี่ชนิดนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบันใช้ในขบวนแห่คู่กับปี่ชวา |
![]() |