![]() |
![]() |
![]() |
เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้มือหรือไม้ตีแล้วเกิดเสียงดังขึ้น มีทั้งแบบที่ทำด้วยไม้ ทำด้วยโลหะ และทำด้วยหนัง เครื่องตีที่ทำด้วยไม้ ได้แก่ กรับต่างๆ เช่น กรับพวง ลักษณะเป็นแผ่นบาง หลายแผ่นร้อยเข้าด้วยกัน ใช้ไม้หนาสองชิ้นประกับไว และกรับเสภา ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม มีสันมน และระนาด ได้แก่ ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ลูกระนาดมี ๒๑ ลูกและระนาดทุ้ม ซึ่งมีเสียงทุ้มและมีจำนวนลูกระนาด ๑๗-๑๘ ลูก |
|
![]() |
![]() |
กรับพวง | กรับเสภา |
เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่ ฆ้อง ฉาบและฉิ่ง ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะแผ่นรูปวงกลมตรงกลางทำเป็นปุ่มนูน เพื่อใช้รองรับการตีให้เกิดเสียงเรียกว่า ปุ่มฆ้อง ต่อจากปุ่มเป็นฐานแผ่ออกไป แล้วงองุ้มลงมา โดยรอบเรียกว่า ฉัตร ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มเรียกว่า หลังฉัตร หรือ ชานฉัตร ส่วนที่งอเป็นขอบเรียกว่า ใบฉัตร ที่ใบฉัตรนี้จะมีรูเจาะสำหรับร้อยเชือกหรือหนัง เพื่อแขวนฆ้อง ถ้าแขวนตีทางตั้งจะเจาะสองรู ถ้าแขวนตีทางนอนจะเจาะสี่รู ฆ้องใช้ในการบรรเลงได้สองลักษณะคือ ใช้ตีกำกับจังหวะ และใช้ตีดำเนินทำนอง - ฆ้องที่ใช้ตีกำกับจังหวะได้แก่ ฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฆ้องเหม่ง ฆ้องระเบ็ง และฆ้องคู่ - ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง ได้แก่ ฆ้องราง ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องมอญ ฆ้องกะแตและฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย |
|
![]() |
![]() |
ฆ้องคู่ | ฆ้องระเบ็ง |
![]() |
![]() |
ฆ้องวงใหญ่ | ฆ้องวงเล็ก |
|
|
![]() |
กลองชนะ รูปร่างเหมือนกลองแขก แต่สั้นกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็ก ใช้ตีด้วยไม้งอหรือหวายทางด้านหน้าใหญ่ แต่เดิมคาดว่ากลองชนะใช้ในกองทัพ หรือในการ สงคราม ต่อมาใช้เป็นเครื่องประโคมในกระบวนพยุหยาตรา และใช้ประโคม พระบรมศพ พระศพ และศพ ตามเกียรติยศของงาน จำนวนที่ใช้บรรเลง มีตั้งแต่ ๑ คู่ ขึ้นไป |
![]() |
กลองแขก มีรูปร่างยาวเป็นกระบอก หน้าด้านหนึ่งใหญ่เรียกว่า หน้ารุ่ย หน้าด้านหนึ่งเล็กเรียกว่า หน้าต่าน หนังหน้ากลองทำด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะ ใช้เส้นหวาย ฝ่าซีกเป็นสายโยงเร่งให้ตึงด้วยรัดอก สำรับหนึ่งมีสองลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียกว่า ตัวเมีย การตีใช้ฝ่ามือทั้งสอง ตีทั้งสองหน้าให้เสียงสอดสลับกัน ทั้งสองลูก กลองชนิดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลองชวา |
![]() |