การประสมวง |
การประสมวงดนตรี คือการเอาเครื่องดนตรีหลาย ๆ อย่างมาบรรเลงรวมกัน แต่การที่จะนำเอาเครื่องดนตรีคนละอย่างมาบรรเลงพร้อมกัน จะต้องพิจารณาว่าเสียง กลมกลืนกันและไม่ดังกลบเสียงกันหรือไม่ สมัยโบราณเครื่องดีดมักจะผสมกับเครื่องสี เพราะมีเสียงที่ค่อนข้างเบาเหมือนกัน และเครื่องตีก็มักจะผสมกับเครื่องเป่าเท่านั้น เพราะมีเสียงค่อนข้างดังมากเหมือนกัน เมื่อรู้จักวิธีสร้างหรือแก้ไขให้เครื่องตีและเครื่องเป่ามีความดังของเสียงลงได้เสมอกับเครื่องดีดเครื่องสีแล้ว จึงได้นำเครื่องตี และเครื่องเป่าบางชนิดผสมในแบบเฉพาะตามที่ต้องการและจำเป็น และเลือกดูว่า เครื่องดนตรีอย่างไหนทำเสียงสูงต่ำได้หลายเสียง ก็ให้บรรเลงเป็นทำนองชนิดไหน ทำเสียงสูงต่ำหลายเสียงไม่ได้ ก็ให้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบจังหวะ ปัจจุบัน การประสมวงดนตรีมีด้วยกันสี่ประเภท ดังนี้ วงขับไม้เริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ประกอบด้วยคนเล่น ๓ คน คือ คนขับลำนำ, คนไกวบัณเฑาะว์ และคนสีซอสามสาย จนมาถึงสมัยอยุธยาได้มีการเพิ่มคนดีดกระจับปี่ เข้าไปอีกหนึ่งคนและเปลี่ยนจากบัณเฑาะว์มาเป็นโทน วงเครื่องสายเริ่มมีขึ้นในสมัยอยุธยาแล้วแต่ไม่เป็นหลักฐานเท่าไรนัก ใช้เครื่องดนตรีหลักคือ ซอด้วง, ซออู้, จะเข้ นอกจากนี้ยังมี ขลุ่ย ร่วมด้วย ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง หรือ กลอง ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้มีการบรรเลงวงเครื่องสายขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งมีทั้งวงเครื่องสายไทย วงเครื่องสายปี่ชวา (ใช้ปี่ชวาแทนขลุ่ย) และวงเครื่องสายประสม (ใช้เครื่องสายไทยประสมกับเครื่องดนตรีของต่างชาติ เช่น ออร์แกน เปียโน ไวโอลิน ขิม จะเข้ญี่ปุ่น) เป็นต้น วงปี่พาทย์เป็นการประสมวงที่มีปี่และเครื่องเคาะ สมัยสุโขทัยได้เริ่มมี "วงปี่พาทย์เครื่องห้า" ขึ้นมาก่อน โดยใช้เครื่องดนตรี ๕ ชิ้น คือ ปี่ ตะโพน ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ต่อมาได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จนเจริญถึงขีดสุดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีการเพิ่มระนาดเข้าไปในภายหลัง วงปี่พาทย์ในปัจจุบันแบ่งออกได้ ๗ แบบ ตามการจัดกลุ่มเครื่องดนตรีดังนี้ |
ประเภทของวงปี่พาทย์ |
เครื่องดนตรีที่ใช้ |
ปี่พาทย์ชาตรี |
ปี่นอก, ฆ้องคู่, โทนชาตรี, กลองชาตรี, ฉิ่ง, กรับ |
ปี่พาทย์เครื่องห้า |
ปี่ใน, ฆ้องวงใหญ่,ระนาด,ตะโพน,กลองทัด, ฉิ่ง |
ปี่พาทย์เครื่องคู่ |
ปี่ใน, ปี่นอก, ฆ้องวงใหญ่, ฆ้องวงเล็ก, ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม, ตะโพน, กลองทัด, ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง |
ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ |
ปี่ใน, ปี่นอก, ฆ้องวงใหญ่, ฆ้องวงเล็ก, ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม, ระนาดเหล็ก, ระนาดทุ้มเหล็ก, |
ปี่พาทย์นางหงส์ |
ปี่ชวา, ฆ้องวงใหญ่, ฆ้องวงเล็ก, ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม, กลองมลายู, ฉิ่ง |
ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ |
ขลุ่ยเพียงออ, ขลุ่ยอู้, ฆ้องวงใหญ่, ฆ้องหุ่ย, ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม, ระนาดทุ้มเหล็ก, ซออู้, ตะโพน, กลองตะโพน, |
ปี่พาทย์มอญ |
ปี่มอญ, ฆ้องมอญ, ระนาด, เปิงมางคอก, ตะโพนมอญ, โหม่งมอญ, ฉิ่ง ฉาบ (จัดเครื่องดนตรีตามแต่ว่าจะเป็นชุดเครื่องเล็ก, เครื่องใหญ่ |
วงมโหรี เริ่มในสมัยอยุธยา วงมโหรีเกิดขึ้นมาจากการดัดแปลงวงขับไม้ในอดีต โดยนำพิณมาร่วมบรรเลงดัวย ซึ่งเดิมมีเครื่องดนตรีเพียง ๒ ชิ้น แล้วเปลี่ยนคนขับลำนำมาเป็นคนร้อง และตีกรับพวง เปลี่ยนจากบัณเฑาะว์เป็นโทนพร้อมกับเพิ่มรำมะนาและขลุ่ยไปประสมร่วมด้วย ในปัจจุบันมโหรีกลายมาเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทุกชนิด ทั้งดีด สี ตี เป่า ซึ่งเท่ากับเป็นการผสมวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเหล่านี้คือ ซอ (ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้), จะเข้, ระนาด, ฆ้องวง, ขลุ่ย, กลอง หรือโทน และเครื่องประกอบจังหวะได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง (สังเกตว่าไม่มีปี่) โดยแบ่งออกเป็น วงมโหรีเครื่องเล็ก, มโหรีเครื่องคู่ และมโหรีเครื่องใหญ่ |
![]() |
วงปี่พาทย์ |
![]() |
วงมโหรี |
กลับไปหน้าหลัก |